วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

10 นิสัยที่ทำให้สมองฝ่อ

10 นิสัยที่ทำให้สมองฝ่อ

1. ไม่ทานอาหารเช้า หลายคนคิดว่าไม่ทานอาหารเช้า แล้วจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่นี้จะเป็นสาเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้สมองเสื่อม

2. กินอาหารมากเกินไป การกินมากเกินไปจะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น

3. การสูบบุหรี่
เป็นสาเหตุให้เป็นโรคสมองฝ่อและเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

4. ทานของหวานมากเกินไป การกินของหวานมาก จะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาองสมอง

5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกายการสูดเอาอากาศที่เป็นมลภาวะ เข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อยส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง

6. การอดนอน การนอนหลับจะทำให้สมองได้พักผ่อนการอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

7. นอนคลุมโปง การนอนคลุมโปง จะเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้นและลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะที่กำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานขอลสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว

9.ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมองการขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ

10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะทางการพูดจะเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมอง



แหล่งที่มา
: http://learners.in.th/blog/zenkyo/186917

ประโยชน์ของผัก 36 ชนิด

ประโยชน์ของผัก 36 ชนิด

ลำดับ

ชนิด

คุณสมบัติ
1 สะเดา (Neem tree) มีเบต้าแคโรทีนสูง บำรุงสายตา เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ
2 ผักกาดขาว (Chinese white cabbage) ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ
3 ต้นหอม (Shallot) มีน้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการหวัด มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง
4 แครอท (Carrot) เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง มีแคลเซียม แพคเตท ลดระดับ คลอเลสเตอรอลได้
5 หอมหัวใหญ่ (Onion) มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
6 คะน้า (Chinese kale) มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง
7 พริก (Chilli) มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ
8 กระเจี๊ยบเขียว (Okra) ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ
9 ผักกระเฉด(Water mimosa) ดับพิษไข้ กากใยช่วยระบบขับของเสีย เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร
10 ตำลึง (Ivy gourd) มีวิตามินเอสูง ดีต่อดวงตา เส้นใยจับไนเตรต ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
11 มะระ (Chinese bitter cucumber) มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นยาระบายอ่อน ๆ น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด
12 ผักบุ้ง (Water spinach) บรรเทาอาการร้อนใน มีวิตามินเอบำรุงสายตา ธาตุเหล็กบำรุงเลือด
13 ขึ้นฉ่าย (Celery) กลิ่นหอม ช่วยเจริญอาหาร มีวิตามินเอ บี และซี บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
14 เห็ด (Mushroom) แคลอรีน้อย ไขมันต่ำ มีวิตามินดีสูง ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน
15 บัวบก (Indian pennywort) มีวิตามินบีสูง ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ
16 สะระแหน่ (Kitchen mint) กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น ทำให้ความคิดแจ่มใส แก้ปวดหัว
17 ชะพลู (Cha-plu) รสชาติเผ็ดเล็กน้อย แก้จุกเสียด ขับเสมหะ มีแคลเซียมสูง
18 ชะอม (Cha-om) ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ขับลมในลำไส้ มีเส้นใยคอยจับ อนุมูลอิสระ
19 หัวปลี (Banana flower) รสฝาด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม มีกากใย โปรตีน และวิตามินซีสูง
20 กระเทียม (Garlic) ลดไขมันในเลือด ป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลท เหล็ก วิตามินซีสูง
21 โหระพา (Sweet basil) น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก ช่วยระบายลม มีเบต้าแคโรทีน แคลเซียม
22 ขิง (Ginger) บรรเทาอาการหวัดเย็น ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
23 ข่า (Galangal) น้ำมันหอมระเหย ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
24 กระชาย (Wild ginger) บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ มีวิตามินเอและแคลเซียม
25 ถั่วพู (Winged bean) ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสาร ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว
26 ดอกขจร (Cowslip creeper) กระตุ้นให้รู้รสอาหาร ให้พลังงานสูง ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
27 ถั่วฝักยาว (Long bean) มีเส้นใย ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก บำรุงเลือด
28 มะเขือเทศ (Tomato) มีวิตามินเอสูง วิตามินซี รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และแก้อาการคอแห้ง
29 กะหล่ำปลี (White cabbage) มีกลูโคซิโนเลท เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง และมีวิตามินซีสูง
30 มะเขือพวง (Plate brush eggplant) ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส
31 ผักชี (Chinese paraley) ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร มีน้ำมันหอมระเหย แก้หวัด มีวิตามินเอและซีสูง
32 กุยช่าย (Flowering chives) มีกากใยช่วยระบายของเสีย มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
33 ผักกาดหัว (Chinese radish) แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มภูมิต้านทางโรค มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี
34 กะเพรา (Holy basil) แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง มีเบต้าแคโรทีนสูง ป้องกันโรคมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือดได้
35 แมงลัก (Hairy basil) ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับลม ขับเหงื่อ
36 ดอกแค (Sesbania) กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา

ที่มา http:// www.goodhealth.co.th/

ประโยชน์ของผัก 36 ชนิด


ประโยชน์ของผัก 36 ชนิด

ลำดับ

ชนิด

คุณสมบัติ
1 สะเดา (Neem tree) มีเบต้าแคโรทีนสูง บำรุงสายตา เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ
2 ผักกาดขาว (Chinese white cabbage) ช่วยระบบย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ
3 ต้นหอม (Shallot) มีน้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการหวัด มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง
4 แครอท (Carrot) เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง มีแคลเซียม แพคเตท ลดระดับ คลอเลสเตอรอลได้
5 หอมหัวใหญ่ (Onion) มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
6 คะน้า (Chinese kale) มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง
7 พริก (Chilli) มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ
8 กระเจี๊ยบเขียว (Okra) ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ
9 ผักกระเฉด(Water mimosa) ดับพิษไข้ กากใยช่วยระบบขับของเสีย เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร
10 ตำลึง (Ivy gourd) มีวิตามินเอสูง ดีต่อดวงตา เส้นใยจับไนเตรต ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
11 มะระ (Chinese bitter cucumber) มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นยาระบายอ่อน ๆ น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด
12 ผักบุ้ง (Water spinach) บรรเทาอาการร้อนใน มีวิตามินเอบำรุงสายตา ธาตุเหล็กบำรุงเลือด
13 ขึ้นฉ่าย (Celery) กลิ่นหอม ช่วยเจริญอาหาร มีวิตามินเอ บี และซี บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
14 เห็ด (Mushroom) แคลอรีน้อย ไขมันต่ำ มีวิตามินดีสูง ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน
15 บัวบก (Indian pennywort) มีวิตามินบีสูง ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ
16 สะระแหน่ (Kitchen mint) กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น ทำให้ความคิดแจ่มใส แก้ปวดหัว
17 ชะพลู (Cha-plu) รสชาติเผ็ดเล็กน้อย แก้จุกเสียด ขับเสมหะ มีแคลเซียมสูง
18 ชะอม (Cha-om) ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ขับลมในลำไส้ มีเส้นใยคอยจับ อนุมูลอิสระ
19 หัวปลี (Banana flower) รสฝาด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม มีกากใย โปรตีน และวิตามินซีสูง
20 กระเทียม (Garlic) ลดไขมันในเลือด ป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลท เหล็ก วิตามินซีสูง
21 โหระพา (Sweet basil) น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก ช่วยระบายลม มีเบต้าแคโรทีน แคลเซียม
22 ขิง (Ginger) บรรเทาอาการหวัดเย็น ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
23 ข่า (Galangal) น้ำมันหอมระเหย ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
24 กระชาย (Wild ginger) บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ มีวิตามินเอและแคลเซียม
25 ถั่วพู (Winged bean) ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสาร ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว
26 ดอกขจร (Cowslip creeper) กระตุ้นให้รู้รสอาหาร ให้พลังงานสูง ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
27 ถั่วฝักยาว (Long bean) มีเส้นใย ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีวิตามินซี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก บำรุงเลือด
28 มะเขือเทศ (Tomato) มีวิตามินเอสูง วิตามินซี รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และแก้อาการคอแห้ง
29 กะหล่ำปลี (White cabbage) มีกลูโคซิโนเลท เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง และมีวิตามินซีสูง
30 มะเขือพวง (Plate brush eggplant) ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส
31 ผักชี (Chinese paraley) ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร มีน้ำมันหอมระเหย แก้หวัด มีวิตามินเอและซีสูง
32 กุยช่าย (Flowering chives) มีกากใยช่วยระบายของเสีย มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
33 ผักกาดหัว (Chinese radish) แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มภูมิต้านทางโรค มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี
34 กะเพรา (Holy basil) แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง มีเบต้าแคโรทีนสูง ป้องกันโรคมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือดได้
35 แมงลัก (Hairy basil) ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับลม ขับเหงื่อ
36 ดอกแค (Sesbania) กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา

ที่มา http:// www.goodhealth.co.th/

วิธีคิดเลขเร็ว


วิธีคิดเลขเร็ว

การคูณเลข 2 หลักที่จำนวนหน้าเท่ากัน จำนวนหลังบวกกันได้ 10
1. ให้เอา เลข ตัวท้ายคูณกัน ตั้งเป็นผลลัพธ์หลักหน่วย และ หลักสิบไว้ก่อน
2. ให้เอาตัวหน้าคูณกับจำนวนที่มากกว่ามันอยู่ หนึ่ง คูณได้เท่าไร เขียนเป็นผลลัพธ์ต่อเป็นหลักร้อย, หลักพัน, หลักหมื่น ฯลฯ เป็นผลลัพธ์ ที่ถูกต้อง และ รวดเร็ว

การคูณเลข 2 หลักที่จำนวนหลังเท่ากัน จำนวนหน้าบวกกันได้ 10
1. ให้เอา เลข ตัวท้ายคูณกัน ตั้งเป็นผลลัพธ์หลักหน่วย และ หลักสิบไว้ก่อน
2. ให้เอาตัวหน้าคูณกัน แล้วบวกตัวหลัง หนึ่งตัว เขียนเป็นผลลัพธ์ต่อเป็นหลักร้อย, หลักพัน, หลักหมื่น ฯลฯ เป็นผลลัพธ์ ที่ถูกต้อง และ รวดเร็ว

การคูณเลข 2 หลักที่มีหลักสิบเป็นเลข 1 ทั้งตัวตั้งและตัวคูณ
1. ให้เอาเลข ตัวท้ายคูณกัน ตั้งเป็นผลลัพธ์หลักหน่วย ถ้าคูณกันเกิน 9 ให้ทดหลักสิบไว้ก่อน
2. หน่วยตัวหลังบวกกัน และ และเพิ่มข้างหน้าอีก 1 บวกจำนวนที่ทดไว้ เขียนเป็นผลลัพธ์ต่อจากที่เขียนไว้เป็นหลักสิบ หลักร้อย ก็จะได้ผลลัพธ์ ที่ถูกต้อง และรวดเร็ว

การคูณเลข 2 หลักที่มีหลักหน่วยเป็นเลข 1 ทั้งตัวตั้งและตัวคูณ
1. เขียน 1 เป็นหลักหน่วยที่ผลลัพธ์ ตั้งไว้ก่อน
2. เอาเลข หลักสิบ บวกกับ หลักสิบ ได้เท่าไร เขียนเป็นผลลัพธ์ หลักสิบ ต่อจาก 1 (ถ้าบวกกันได้เลขสองตัว ให้ทดตัวหน้าไว้ก่อน)
3. เอาหลักสิบ คูณ หลักสิบ บวกกับตัวทด ได้เท่าไร เขียนผลลัพธ์ ต่อเป็น หลักร้อย หลักพันต่อไป ก็จะได้ผลลัพธ์ ที่ถูกต้อง และรวดเร็ว

ที่มา http://www.zheza.com/index.php?a=blog&b=entry&uid=91882&eid=32

"เคล็ดลับการสร้างความจำ"


"เคล็ดลับการสร้างความจำ"

วิธีฝึกสมาธิ

ลองอ่านหนังสือแล้วเปิดเพลงไปด้วย สัก 5 นาทีแล้วถามตัวเองว่าได้ความ มากแค่ไหน ....

"ขอให้ค่อยๆลองฝึกดู เมื่อไรที่คุณแยกเสียงเพลง ออกจากการอ่านหนังสือได้ แสดงว่าคุณก็เริ่มมีคุณสมบัติเป็นนักจำที่ดีแล้ว เพราะคุณมีสมาธิ" นั่นเอง

เคล็ดลับการสร้างความจำ ง่ายๆ
(1)-
เมื่ออ่านหนังสือ - ให้เลือกหา "วรรคทอง" ในแต่ละบทให้ได้ แล้วจดจำไว้ - หมั่นทวนวรรคทองนั้นเสมอ
(2)-
เขียนวรรคทองนั้น ลงในกระดาษ- ซึ่งจะทำให้จิตใจจดจ่อกับวรรคทองนั้น
(3)-
การทบทวนวรรคทองบ่อยๆ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจใหม่ ๆ -
โดยสรุปก็คือ ใช้สายตา (อ่าน) -จิตใจ(จดจ่อ) -มือ (เขียน) - อ่าน (ออกเสียง)

6 ท่าออกกำลังกาย เพิ่มพลังสมอง เสริมความจำ สร้างสมาธิ


6 ท่าออกกำลังกาย เพิ่มพลังสมอง เสริมความจำ สร้างสมาธิ

พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเป็นอัจฉริยะ จนต่างแข่งขันพาลูกไปเรียนรู้สารพัดวิชา เพื่อให้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากที่สุด มีความสามารถ แต่มีใครถามหรือสนใจบ้างว่า วันนี้ลูกของเรามีโครงสร้างร่างกายและระบบประสาทที่พร้อมต่อการเรียนรู้หรือ ไม่?

สถาบันพัฒนาโครงสร้างร่างกายดีสปายน์ ไคโรแพรคติก มีผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างกระดูกสันหลัง ระบบประสาท แห่งสหรัฐอเมริกา ดร.ทอม สมิท มาอธิบายว่า ร่างกายคนเรามีกลไกมาพร้อมกับธรรมชาติที่เป็นอัจฉริยะอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าตั้งแต่เกิดจนโตมา อาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ระบบโครงสร้างร่างกายและระบบประสาททำงานได้ไม่ เต็มที่ ติดๆ ขัดๆ อาทิ การคลอดที่ผิดธรรมชาติ การหกล้ม อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่างๆ รวมถึงท่าทางการนั่งการยืนที่ผิดธรรมชาติ ทำให้กลไกอัจฉริยะในร่างกายที่ธรรมชาติให้มา ทำงานได้ไม่เต็มที่ อันส่งผลต่อการดำรงชีวิตหลายประการ อาทิ การเจ็บป่วยต่างๆ การขาดสมาธิ ซึ่งหากโครงสร้างร่างกายตั้งแต่วัยเด็กได้รับการปรับแก้ไข ให้มีความสมดุล การเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่ก็จะมีคุณภาพ

นางบัณลักข ถิรมงคล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาโครงสร้างร่างกาย ดีสปายน์ ไคโรแพรคติก เสริมว่า จากสถิติผู้ที่มาเข้ารับการรักษาผู้ใหญ่ หลายปีมานี้พบว่าส่วนใหญ่จะมีปัญหากระดูกสันหลังคด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดต่างๆ ตามร่างกาย อาทิ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ และปวดขา ซึ่งจริงๆ แล้ว หากเด็กได้รับการพัฒนาโครงสร้างร่างกายให้แข็งแรง มีความพร้อมตั้งแต่ในวัยเด็ก ปัญหาดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังจะทำให้ร่างกายมีความพร้อมต่อการเรียนรู้ สามารถจดจำ และมีสมาธิด้วย ทั้งนี้ การพัฒนาโครงสร้างร่างกาย ระบบประสาท และสมอง โดยเทคนิคการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถส่งเสริมให้เด็กๆ ทำได้ และพ่อแม่ควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับพัฒนาการโครงสร้างร่างกาย ตั้งแต่วัยเด็ก

สำหรับเทคนิคการออกกำลังกาย ที่ทางสถาบันแนะนำทั้งเด็กและผู้ใหญ่ปฏิบัติทุกวัน มี 6 ท่า คือ

1.ท่า ปุ่มสมอง เป็นท่ากระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดใหญ่บริเวณลำคอ ช่วยทำให้สมองตื่นตัว เพิ่มสมาธิ และการรับรู้ โดยวางมือข้างหนึ่ง แบไว้ตรงสะดือ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งให้นวดเบาๆ บริเวณร่องบุ๋มที่อยู่ระหว่างกระดูกซี่โครงซีแรกกับซี่ที่สอง ใต้กระดูกไหปลาร้า

2.ท่าเคลื่อนไหล่สลับข้าง เป็นท่ากระตุ้นให้สมองสองซีกทำงาน เพิ่มเซลล์สมอง สมองทั้งสองซีกสื่อสารถึงกันได้ดี รวดเร็ว และทำให้ความจำดีอีกด้วย โดยเด็กๆ สามารถย่ำเท้าอยู่กับที่ ยกเข่าให้สูง ศอกซ้ายแตะเข่าขวา และศอกขวาแตะเข่าซ้ายสลับกัน

3.ท่าเกี่ยว ตะขอ ช่วยทำให้สมองทำงานประสานกันได้ดียิ่งขึ้น กระตุ้นศูนย์ควบคุมระดับการรู้สึกตัว สร้างสมาธิ เพิ่มความสมดุล เพิ่มการจดจำด้วย และช่วยกระตุ้นสมอง ส่วนที่ทำหน้าที่รับสัมผัส เริ่มจากเด็กๆ จะต้องยืนไขว้มือสองข้างให้ประสานกัน เหยียดแขนทั้งสองออกไปด้านหน้า นิ้วโป้งชี้ลงพื้นแล้วพลิกมือ ม้วนเข้าหาตัว แล้วพักไว้ที่บริเวณหน้าอก ทิ้งศอกลงทั้งสองข้าง พร้อมทั้งกระดกลิ้นติดเพดานปาก เป็นการกระตุ้นประสาทเส้นเอ็นบริเวณลิ้น

4.ท่า หมวกความคิด เป็นท่ากระตุ้นระบบประสาทเกี่ยวกับการได้ยิน โดยเด็กๆ จะต้องนวดใบหูด้านนอก ตั้งแต่บนสุด ลงล่างสุด เพื่อปลุกให้กลไกการได้ยินมีความตื่นตัว ทำให้ความจำได้ขึ้น

5.ท่า หาวเพิ่มพลัง เป็นท่ากระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อบนใบหน้าทั้งหมด ทั้งระบบประสาทตา หู กล้ามเนื้อ และปลุกให้สมองตื่นตัว ทำให้มีสมาธิโดยท่านี้เด็กๆ จะต้องทำท่าเหมือนหาว จากนั้นนวดคลึงกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร

6.ท่า เลขแปดหลังยาวสำหรับการมอง เป็นท่าพัฒนาการเคลื่อนไหวของดวงตา เพื่อให้เกิดการประสานงานของมือและตา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจำ มีความสงบเยือกเย็น มีสมาธิ เหมาะสำหรับเด็กที่ทำงานศิลปะ หรือเล่นเปียโน โดยท่านี้กำหนดให้ชูหัวแม่มือข้างใดข้างหนึ่งขึ้นไว้กลางระดับสายตา ระยะห่างประมาณช่วงศอก ตั้งศีรษะนิ่ง ไม่เกร็ง ตามองตามนิ้วที่เคลื่อนตลอด โดยลากนิ้วหัวแม่มือขึ้นไปด้านบนของขอบเขตสายตาม และลากทวนเข็มนาฬิกากลับมาด้านซ้าย จนกระทั่งนิ้ววนมาถึงจุดต่ำสุด จากนั้นหมุนย้อนเข็มผ่านจุดกึ่งกลางไปทางขวา ทำทีละข้าง

เพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาโครงการร่างกาย และให้เด็กได้มีเทคนิคดูแลร่างกาย เพิ่มพลังสมอง สร้างสมาธิให้กับตนเอง สถาบันพัฒนาโครงสร้างร่างกาย ดีสปายน์ ไคโรแพรคติก จึงจัดการกิจกรรม "เพิ่มพลังสมอง เปิดโลกอัจฉริยะ" ในวันที่ 24 มีนาคม ที่โรงแรมอิมพิเรียลธารา สุขุมวิท 26 โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกามาตรวจร่างกาย และนักกายภาพมาสอนเทคนิคการออกกำลังกาย การเพิ่มสมาธิต่างๆ สนใจโทร.0-2260-6586

หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10964

50 วิธีเอาชนะโรคเด็กสมาธิสั้น


50 วิธีเอาชนะโรคเด็กสมาธิสั้น

จาก จิตเวช รามาธิบดี

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ สุคนิชย์


add ย่อมาจากคำว่า attention deficit disorder หมายถึง โรคสมาธิสั้น

ครูอาจารย์รู้หลายอย่างที่แพทย์ไม่รู้ นั่นก็คือ อาการของ ADD ปรากฏ ได้หลายแบบมาก ซ้ำยังเกิด ร่วมกับ ความผิดปกติอื่นๆ อีก เช่น learning disabilities หรือปัญหา ทางอารมณ์ ราวกับว่า ปัญหาของ ADD เปลี่ยนตาม สภาพอากาศ ไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ แม้วิธีการรักษา ADD จะมี ปรากฏ ในหนังสือ มากมาย แต่ก็ยังคง เป็นงานยาก และหนัก กับผู้ปฏิบัติเสมอ


ไม่มีทางออกง่ายๆ สำหรับ การแก้ปัญหา ของ ADD ใน ห้องเรียน หรือที่บ้าน ความสำเร็จ ของการรักษา ในโรงเรียน ขึ้นอยู่กับ ความรู้ และความหนักแน่น สม่ำเสมอ ของครู และโรงเรียน เป็นอย่างมาก
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดบางประการในการช่วยเด็ก ADD ใน โรงเรียน โดยมุ่งให้ครูอาจารย์ช่วยเด็กได้ ในทุกวัย แต่ครูอาจเห็นว่า บางข้อเหมาะสำหรับเด็กบางวัยมากกว่า อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่อง การมีกรอบ, การให้ความรู้ และการชักจูงสนับสนุน ยังคงเป็น แนวคิดหลักเสมอ

1) ข้อแรกคือ ท่านต้องมั่นใจว่าท่านกำลังช่วยเด็ก ADD มิใช่เป็นปัญหาของการได้ยิน การมองเห็น


2) หาผู้สนับสนุนท่านคือโรงเรียนและผู้ปกครอง การมีเด็ก ADD อยู่ในชั้น 2-3 คน ก็เป็นเรื่องเหนื่อย มากอยู่แล้ว หาผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาได้ เช่น นักการศึกษาพิเศษ จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาประจำ โรงเรียน หรือกุมารแพทย์ หาความร่วมมือจากผู้ปกครอง และหาเพื่อนครูมาช่วย


3) จงรู้จักข้อจำกัดของตนเอง อย่ากลัวที่จะขอความร่วมมือ ครูคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ADD


4) ถามเด็กว่าจะให้ช่วยอย่างไร เด็กเหล่านี้มักบอกได้ว่า อยากให้ท่านช่วยอย่างไรเมื่อถูกถาม อย่า อายที่จะถามเด็ก พยายามหาเวลาคุยกับเด็กตามลำพังและถามเขา คนที่ตอบได้ดีที่สุดเสมอคือตัว เด็กเอง ซึ่งเรามักละเลยมองข้ามไม่ถามจากเขา ในเด็กโตควรช่วยให้เด็กเข้าใจด้วยว่า ADD คือ อะไร ซึ่งจะช่วยท่านได้มาก


5) ระลึกเสมอว่า การมีกรอบจะช่วยเด็ก ADD กรอบคือสิ่งรอบตัวที่ช่วยควบคุมตัวเขา เพราะเขาคุม ตน เองไม่ได้ การมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำช่วยเด็ก ADD ที่ หลงออกไปกลับเข้ากรอบได้ พวกเขาต้องการสิ่งเตือน ต้องการการแนะ ต้องการการย้ำ ต้องการคำสั่ง ต้องการคนให้ ขีดจำกัด และต้องการกรอบที่ชัดเจนแน่นอน


6) อย่า ลืมการเรียนกับความรู้สึก เด็กเหล่านี้ต้องการห้องเรียนที่สนุก รู้สึกว่าเขาทำได้ ไม่ใช่ล้มเหลว ต้องการความตื่นเต้นมากกว่าความเบื่อหรือความกลัว ควรให้ความสนใจกับเรื่องความรู้สึกคู่ไป กับการเรียนเสมอ


7) ให้เด็กเขียนกฎ ข้อตกลง แล้วติดในที่ที่มองเห็นได้ เป็นการแสดงให้เขารู้ว่า เขาควรทำอะไรบ้าง


8) ย้ำคำสั่ง เขียน พูดคำสั่งหลายๆครั้ง คนที่เป็น ADD ต้องการให้คนพูดย้ำหลายๆครั้ง


9) พยายามสบตาเด็กบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นวิธีดึงเด็กกลับมาจากความคิดวอกแวก ทั้งเป็นการให้ขั้นตอน เด็กว่าถามได้ หรือแสดงว่าท่านสนใจเขาอยู่


10) ให้เด็กนั่งใกล้โต๊ะ หรือที่ที่ท่านยืนอยู่มากที่สุด


11) ให้ขอบเขตและข้อจำกัด โดยวิธีละมุนละม่อม ไม่ใช่ลงโทษ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้ง ทันท่วงที และง่ายๆ ไม่ต้องเข้าไปถกเถียงกับเด็กมากมายเหมือนทนายทำในศาล การพูดยิ่งยาวยิ่งไม่ได้ผล


12) ทำ ตารางเวลาให้สม่ำเสมอที่สุดที่ทำได้ ติดตารางบนโต๊ะเด็กหรือกระดาน ชี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ ถ้า ท่านจะเปลี่ยนตาราง ควรเตือนให้เด็กทราบก่อนหลายครั้ง การเปลี่ยนโดยไม่บอกล่วงหน้าทำให้ เด็กปฏิบัติตัวยากจนเหมือนไม่ร่วมมือ


13) พยายามให้เด็กจัดตารางเวลา หลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผัดผ่อน


14) พยายามลดการทดสอบย่อยๆกับเด็กเหล่านี้ เพราะไม่สามารถวัดความรู้จากเด็ก ADD ด้วยวิธีนี้ ได้


15) ปล่อย ให้เด็กมีอิสระบ้าง เช่นให้ออกนอกห้องเป็นครั้งคราว ดีกว่าจำกัดไว้ แล้วเด็กหนีหายไปเลย เขียนไว้เป็นกฎ แล้วให้เด็กหัดควบคุมตนเอง


16) ให้การบ้านที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เด็ก ADD อาจทำไม่ได้มากเท่าคนอื่น ควรสอนวิธีคิดให้ เด็กในระยะเวลาเรียนเท่าเดิม แต่ไม่ให้งานมากจนเด็กทำไม่ได้


17) ติดตาม การทำงานอย่างใกล้ชิด และช่วยเตือนให้เด็กอยู่กับร่องกับรอย เขาจะรู้ว่าเขาควรทำอะไร และหากทำตามเป้าหมายได้ จะเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจเด็กอย่างมาก


18) ย่อยงานใหญ่ๆให้เป็นงานย่อยๆ ถือเป็นหัวใจหลักในการที่ครูจะสอนลูกศิษย์ ADD ได้ เด็ก ADD เมื่อเผชิญกับงานใหญ่มากๆ จะท้อก่อนทำว่า ฉันไม่มีทางทำได้แต่ หากย่อยงานใหญ่มากๆ จะ เป็นงานย่อยๆที่เขารู้สึกทำได้ จะช่วยให้เขามั่นใจขึ้น โดยทั่วไปเด็กมีความสามารถที่จะทำงานได้ มากกว่าที่เขาคิดเองอยู่แล้ว แต่การย่อยงานให้เขาทำ จะช่วยพิสูจน์สิ่งนี้แก่เขา ในเด็กเล็กวิธีช่วย ให้เด็กหงุดหงิดอาละวาดลดลงได้มาก แต่ในเด็กโต ความรู้สึกเป็นคนแพ้จะลดลง ท่านควรทำเช่นนี้เป็นประจำ


19) ทำ ตัวในรื่นเริง ง่ายๆมีอารมณ์ขัน หาสิ่งแปลกใหม่เรื่อยๆเพื่อทำให้เด็กกระตือรือร้น และคง ความสนใจ เด็กเหล่านี้มีชีวิตชีวา ชอบเล่น เกลียดสิ่งน่าเบื่อ รวมทั้งกฎเกณฑ์ ตาราง รายการ และครูที่น่าเบื่อ ควรแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ จงลองทำตัว สนุกๆเป็นครั้งคราว จะช่วยได้มาก


20) ป้องกันการเกิดสิ่งเร้าที่มากเกินไป เด็ก ADD เหมือนหม้อตั้งไฟมีโอกาสเดือดล้นได้ตลอดเวลา หากเห็นห้องไม่มีระเบียบ จัดการเสียตั้งแต่ต้น อย่ารอให้เป็นจลาจล


21) หาสิ่งสำเร็จเล็กๆน้อยๆ ในตัวเขาเสมอ เด็กเหล่านี้เคยพบแต่ความล้มเหลว และเขาต้องการคน ให้กำลังใจ แต่อย่าทำจนเกินไป เด็กต้องการและได้ประโยชน์จากคำชม การให้กำลังใจ เหมือน ให้น้ำกับคนกระหาย หากมีน้ำก็รอดและเติบโต หากขาดน้ำมีแต่จะแย่ลง บ่อยครั้งที่ความเสียหายจาก ADD เองไม่รุนแรงเท่าความเสียหายจากความไม่มีความมั่นใจในตนเอง ให้น้ำแต่พอดีแล้วเด็กจะสำเร็จ


22) เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาความจำ ช่วยเด็กโดยแนะเคล็ดการช่วยจำ เช่น การย่อ ทำรหัส ผูกเป็น โคลง ทำสัญลักษณ์ หาเสียงคล้ายกัน จะช่วยเด็กได้มาก


23) สอนเด็กในการจำหัวข้อ ขีดเส้นใต้ ซึ่งเด็ก ADD มักไม่ทำ ถือเป็นการช่วยเตือนสติเด็กให้เรียนได้ ขณะกำลังเรียน อยู่จริง ซึ่งสำคัญที่สุกกว่าการให้ไปเรียนพิเศษเพิ่มทีหลัง


24) บอกเด็กก่อนว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรต่อไป บอกหัวข้อ แล้วค่อยตามด้วยเนื้อเรื่อง เด็ก ADD มัก เรียนจากการมองเห็นได้มากกว่าการฟัง ท่านอาจพูดไปเขียนไป เหมือนช่วยเติมกาวให้ความจำ


25) ใช้คำสั่งง่ายๆ ให้ทางเลือกง่ายๆ ให้ตารางง่ายๆ ยิ่งง่ายยิ่งเข้าใจได้ดี ใช้ภาษาให้น่าสนใจ เหมือน มีสีสัน จะช่วยดึงความสนใจ


26) เตือน ให้เด็กรู้จักสังเกตตนเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้มักไม่สามารถติดตามได้ว่าตนเองกำลังคิดหรือทำ อะไร การเตือนควรใช้คำถามที่สร้างสรร เช่น เมื่อกี้ หนูเพิ่งทำอะไร” “ถ้าให้ลองพูดอีกครั้งหนู จะพูดใหม่ว่าอะไร” “ทำไมหนูถึงว่าเด็กคนนั้นหน้าเสียตอนหนูพูดอย่างนั้นคำถามเหล่านี้จะ ช่วยให้เขาสังเกตตนเองเป็น


27) ทำสิ่งที่คาดหวังจากเด็กให้ชัดเจน


28) การให้สะสมคะแนนเอารางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม เด็ก ADD ตอบสนองดีกับ การให้การจูงใจและรางวัล เขาชอบการท้าทาย


29) ถ้าเด็กเข้าใจภาษากาย เช่น ท่าทาง, น้ำเสียง, หรือกาลเทศะ ได้จาก ควรช่วยเด็กให้เข้าสังคม ได้ง่ายขึ้น เช่น สอน ก่อนที่หนูจะเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง ถามว่าเขาอยากเล่าอะไรก่อน” “มอง หน้าคนอื่นด้วยในเวลาพูดเด็ก ADD มักถูกมองว่า หยิ่ง เห็นแก่ตัว ซึ่งที่จริงเขาไม่รู้วิธีเข้า สังคม ทักษะพวกนี้แม้ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ก็สอนได้


30) สอนวิธีการทำข้อสอบให้เด็ก


31) ทำการเรียนให้เหมือนเล่นเกมส์ การสร้างแรงจูงใจช่วย ADD ได้มาก


32) แยกเด็ก ADD ออกจากกัน ไม่ให้เป็นคู่หรือกลุ่ม เพราะมักทำให้เด็กแย่ลง


33) ให้ ความสนใจกับการมีส่วนร่วม เด็กเหล่านี้อยากเข้าร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ ตราบใดที่เด็กอยู่ใน ภาวะที่มีส่วนร่วม เด็กจะอยากทำและไม่วอกแวก


34) มอบความรับผิดชอบให้เด็กทำเองเสมอเมื่อเป็นไปได้


35) ลองทำบันทึกจากบ้าน โรงเรียน บ้าน ทุกวัน เพื่อช่วยให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจกัน และช่วยให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการ


36) ลองทำรายงานประจำวัน


37) ช่วยเด็กให้ทำรายงาน และให้เด็กสังเกตตนเอง แล้วพบอาจารย์หลังเลิกเรียนทุกวัน


38) จัด เวลาพักสบายให้เด็กไว้ โดยให้เด็กทราบล่วงหน้าเพื่อเด็กจะได้เตรียมใจ การให้เวลาพักโดย เด็กไม่ได้คาด จะทำให้เด็กตื่นเต้นและถูกกระตุ้นมากเกินไป


39) พึงชมเชย ให้กำลังใจ ยอมรับ ทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าเสมอ


40) สำหรับเด็กโต ให้เด็กจดคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างฟังไว้ นอกเหนือจากจดสิ่งที่ครูพูดให้ฟัง จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น


41)
ลายมือเด็กเหล่านี้ อาจไม่ดีนัก ให้เด็กหัดใช้แป้นพิมพ์ หรือตอบคำถามปากเปล่าบ้าง


42) ทำ ตัวเหมือนผู้ควบคุมวงดนตรี ทำให้ลูกวงสนใจก่อนเริ่มเล่น โดยอาจทำตัวเงียบ เคาะโต๊ะ แบ่ง เวลาให้แต่ละคนในห้อง โดยอาจชี้ให้เด็กช่วยตอบ


43) จัด คู่หูเพื่อนช่วยเรียน และให้เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อไว้


44) ช่วยอธิบาย ทำให้การรักษาดูเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อลดความอายของเด็ก


45) พบผู้ปกครองบ่อยๆ ไม่ใช่พบแต่เมื่อเกิดปัญหา


46) ให้อ่านออกเสียงที่บ้าน และในห้องเรียนเท่าที่เป็นไปได้ อาจให้อ่านนิทาน จะช่วยให้

เด็กมี ทักษะในการคงความสนใจอยู่กับเรื่องๆเดียวได้


47) พูดย้ำ ย้ำ และย้ำ


48) การออกกำลังกาย ช่วย ADD ทั้ง เด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ การออกกำลังกายหนักๆ เพราะช่วย ทำลายพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิ และเป็นการกระตุ้นสารต่างๆในร่างกายซึ่งเป็น ประโยชน์และสนุก และเขาจะทำตลอดไป


49) สำหรับเด็กโต ช่วยเด็กเตรียมตัวเรียนสำหรับวันรุ่งขึ้น โดยคุยกับเด็กว่าเขาจะเตรียมตัวอย่างไร


50) มองหาส่วนดีที่ปรากฏขึ้นในเด็กเสมอ เด็กเหล่านี้มักฉลาดกว่าที่เราเห็น มีความสร้างสรรค์ ขี้เล่น และเป็นกันเอง เขาพยายามจะ กลับมาสู้เสมอ เขาต้องการกำลังใจและดีใจที่มีคนช่วย จำไว้ ว่าต้องมีทำนองก่อนจะเขียนโน้ตประสานเสียงเสมอ

ที่มา http://www.otat.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=5355636&Ntype=2