วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

ไปบริจาคโลหิตกันดีกว่า


การบริจาคโลหิตนอกจากได้บุญเพราะได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่เจ็บป่วยหรือ ได้รับอุบัติเหตุเสียเลือดอย่างรุนแรงแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริจาคเองด้วย เพราะได้ตรวจเช็กสุขภาพอย่างง่ายในทุกครั้งที่บริจาคเลือด เช่น ชั่นน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และตรวจความเข้มข้นของเลือด

หากตรวจพบว่าเป็นโรคต่างๆ ก็จะได้รับจดหมายแจ้งจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย ให้ไปตรวจวินิจฉัยยืนยันและทำการรัยษา ช่วยให้เราได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ทำให้ลดการแพร่กระจาบของโรค ลดภาวะแทรกซ้อน และลดความพิการได้

คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต

  1. อายุระหว่าง 17-60 ปีบริบูรณ์ สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ด
  2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
  3. ไม่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
  4. ไม่ เป็นไข้มาลาเรียมาในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา ไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่างๆ ไอเรื้อรัง ไอมีเลือด เลือดออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่างๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
  5. ไม่อยู่ในระหว่างทานยาแก้อักเสบในระยะ 7 วันที่ผ่านมา
  6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติยาเสพติดี
  7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัด คลอดบุตร หรือแท้งบุตร 6 เดือน
  8. ไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์

การดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต

  1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  2. ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ
  3. ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
  4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  5. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ขั้นตอนการบริจาคโลหิต

ขั้นตอนที่ 1 ผู้บริจาคโลหิตจะต้องกรอกแบบฟอร์มขนาด ประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประจำเดือนในกรณีที่เป็นผู้บริจาคหญิง และคำถามซึ่งคัดกรองเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสบี เอดส์ หรือซิฟิลิส ได้แก่ ความเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ทางการรับเลือด ทางการผ่าตัด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 การชั่งน้ำหนัก ครวจสอบความเข้มข้นของเลือดโดยการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วว่าเลือดข้นเพียงพอ ที่จะบริจาคหรือไม่ ซึ่งเรียกกันว่า 'เลือดจม' ถ้าข้นไม่เพียงพอที่จะบริจาคได้จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า 'เลือดลอย' และมีการวัดความดันโลหิต รับยาบำรุงโลหิต

ขั้นตอนที่ 3 การรับสติกเกอร์และบาร์โค้ดซึ่งจะนำไปติดที่หลอดเลือดต่อไป

ขั้นตอนที่ 4 เป็นการบริจาคเลือด เกล็ดลือด หรือพลาสมาซึ่งจะใช้เวลาแตกต่างกัน

ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนสุดท้าย คือการพักรับประทานเครื่องดื่มและของว่างก่อนจะกลับ

การบริจาคเลือด (Whole Blood) เป็นการนำเลือดออกจากร่างกายทั้งหมด 250-450 ซี.ซี. แล้วแต่เพศและความสม่ำเสมอของการบริจาคเลือด ผู้บริจาคที่เป็นหญิงจะเอาเลือดออกไปน้อยกว่าชาย หากเป็นผู้บริจาคประจำจะสามารถเอาเลือดออกได้ถึง 450 ซี.ซี./ครั้ง การบริจาคเลือดจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที

การบริจาคพลาสมา ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่ต้องการพลาสมาของผู้บริจาคที่มีภูมต้านทานไวรัสตับ อักเสบชนิดบี เงื่อนไขคือต้องมีภูมิคุ้มกันไวรัสตัยอักเสบชนิดบีในความเข้มข้นที่สูงเกิน 1,000 mlU/ml ขั้นตอนเริ่มจากเอาเลือดออกจากร่างกาย ปั่นแยกเอาพลาสมาออก แล้วใส่ส่วนที่เหลือกลับคืนเข้าระบบการไหลเวียนโลหิตของผู้บริจาค โดยใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที

ส่วนการบริจาคเกล็ดเลือด เป็นการนำเลือดออกจากร่างกายผ่านเครื่องแยกซึ่งจะเก็บเอาเกล็ดเลือดไว้แล้ว คืนส่วนที่เหลือทั้งหมดกลับเข้าระบบการไหลเวียนโลหิตซึ่งจะต้องทำเป็นรอบ (Cycle) ทั้งสิ้นประมาณ 7 รอบ กินเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง

ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต

  1. นอนพักบนเตียงสักครู่ ห้ามลุกจากเตียงทันทีเพราะอาจเวียนศรีษะและเป็นลมได้
  2. ควรดื่มเครื่องที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 1 วัน
  3. ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากเวียนศรีษะให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
  4. รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวีนละ 1 เม็ดจนหมดเพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
  5. หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะเป็นเวลา 12 ชั่วโมงพื่อป้องกันการบวมช้ำ
  6. งดกิจกรรมที่ใช้กำลังและเสียเหงื่อที่ทำให้อ่อนเพลียได้

แล้วอย่าลืมไปบริจาคโลหิตกันนะคะ ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง หรือศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย นอกจากนี้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ยังมีรถหรือหน่วยรับบริจาคเคลื่อนที่ไปยังชุมชนหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นครั้งคราว

ในกรณีประสงค์จะบริจาคเป็นกลุ่มคนขององค์กรหรือหน่วยงาน สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ที่ โทร. 0-2251-3111, 0-2252-4106-9 ต่อ 114, 161, 162 หรือ www.nbc.in.th

ขอขอบคุณ : VOLUME

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น